Thailandbest10

10 อันดับ แว่นกันแดดผู้ชาย แบรนด์ดัง สุดถูก ส่งไว ใส่แล้วเท่ รุ่นไหนดี ปี 2022

แดดเมืองไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก การพบเจอแสงแดดในแต่ละวันถือเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คนที่ต้องออกไปข้างนอกหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งอยู่เป็นประจำ นอกจากต้องใช้โลชั่นกันแดดเพื่อป้องกันผิวแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ไม่ควรมองข้ามคือแว่นกันแดด ตาสีเข้มแบบเราชาวไทยแสงแดดก็สามารถทำร้ายได้นะคะ อยากจะให้ทุกคนตะหนักตรงนี้และพกแว่นกันแดดไปด้วยอยู่เสมอ ซึ่งแว่นกันแดดนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่อุปกรณ์ที่ช่วยปกป้องดวงตาของคุณจากแสงแดดเท่านั้น แต่ยังเป็นเสมือนไอเทมที่ช่วยเสริมลุคเท่อย่างมีสไตล์ให้กับคุณได้อีกด้วย ไปดูกันค่ะว่าแว่นกันแดดรุ่นยอดฮิตสำหรับคุณผู้ชายจะมีรุ่นไหนกันบ้าง

แว่นกันแดด

10 อันดับ แว่นกันแดดผู้ชาย แบรนด์ดัง สุดถูก ส่งไว ใส่แล้วเท่ รุ่นไหนดี ปี 2022

ทรงเหลี่ยม ใบหน้าทรงเหลี่ยมมุมกรามจะค่อนข้างชัดเจน ทรงแว่นที่ควรเลี่ยงคือทรงเหลี่ยม เพราะจะทำให้รูปหน้าไม่เด่น ควรจะหยิบอะไรที่มันดูมน ๆ มาใส่
ทรงรีใบหน้ากลมเป็นรูปไข่ แต่กรามอาจจะเรียวเล็กกว่าหน้าผาก บางคนมีโหนกแก้มสูง สามารถใส่ได้เกือบทุกทรงเลยค่ะ
ทรงหัวใจหน้าผากค่อนข้างกว้าง แต่แก้มและกรามเรียวลงมา มีโหนกแก้มสูง ควรหยิบทรงกลมหรือวงรี กรอบแว่นควรจะมีสีอ่อนและเส้นบางเพื่อให้ใบหน้าดูสมดุล
ทรงกลมใบหน้ากลมมีหน้าผากและกรามกว้างแป้น แก้มกลมป่องเป็นซาลาเปา ควรเลี่ยงแว่นทรงกลมละหยิบทรงเหลี่ยมมาใช้เพื่อให้ใบหน้าและแว่นดูสมดุลดูเด่นขึ้น
รูปหน้ากับแว่นกันแดดที่ใช่

1. Ray-Ban Justin Polarized - RB4165F

สินค้าRay-Ban Justin Polarized - RB4165F
สีเลนส์Gray
กรอบแว่นPlastic
ขนาดเลนส์55 mm.
เหมาะกับหน้าทรงกลม, หน้าทรงรี, หน้าทรงหัวใจ

2. Ray Ban - RB4260D

สินค้าRay Ban - RB4260D
สีเลนส์Green
กรอบแว่นPlastic
ขนาดเลนส์57 mm.
เหมาะกับหน้าทรงกลม, หน้าทรงรี, หน้าทรงหัวใจ

3. Ray Ban Washed Lenses - ORB4259F

สินค้าRay Ban Washed Lenses - ORB4259F
สีเลนส์Yellow
กรอบแว่นPropionate
ขนาดเลนส์53 mm.
เหมาะกับหน้าทรงกลม, หน้าทรงรี, หน้าทรงหัวใจ

4. Ray Ban Aviator large metal - RB3025

สินค้าRay Ban Aviator large metal - RB3025
สีเลนส์Green, Blue
กรอบแว่นMetal
ขนาดเลนส์58 mm.
เหมาะกับหน้าทรงรี

5. Oakley Latch Beta PRIZM

สินค้าOakley Latch Beta PRIZM
สีเลนส์Gray
กรอบแว่นPlastic
ขนาดเลนส์54 mm.
เหมาะกับหน้าทรงกลม, หน้าทรงรี, หน้าทรงหัวใจ

6. Oakley Holbrook PRIZM

สินค้าOakley Holbrook PRIZM
สีเลนส์Gray
กรอบแว่นPlastic
ขนาดเลนส์56 mm.
เหมาะกับหน้าทรงกลม, หน้าทรงรี, หน้าทรงหัวใจ

7. Ray Ban Round Metal - RB3447N

สินค้าRay Ban Round Metal - RB3447N
สีเลนส์Gunmetal
กรอบแว่นMetal
ขนาดเลนส์53 mm.
เหมาะกับหน้าทรงเหลี่ยม, หน้าทรงรี, หน้าทรงหัวใจ

8. Ray Ban Hexagonal - RB3548N

สินค้าRay Ban Hexagonal - RB3548N
สีเลนส์Green
กรอบแว่นMetal
ขนาดเลนส์54 mm.
เหมาะกับหน้าทรงกลม, หน้าทรงรี, หน้าทรงหัวใจ

9. OAKLEY FLAK

สินค้าOAKLEY FLAK
สีเลนส์Prizm Black
กรอบแว่นInjected
ขนาดเลนส์61 mm.
เหมาะกับหน้าทรงกลม, หน้าทรงรี, หน้าทรงหัวใจ

10. Ray Ban Wayfarer - RB2140F

สินค้าRay Ban Wayfarer - RB2140F
สีเลนส์Green
กรอบแว่นPlastic
ขนาดเลนส์52 mm.
เหมาะกับหน้าทรงกลม, หน้าทรงรี, หน้าทรงหัวใจ

ข้อควรรู้เกี่ยวกับแว่นกันแดด

  • ความสามารถในการป้องกันหรือดูดซับรังสีอุลตร้าไวโอเลต หรือ UV
  • สีเลนส์แว่นกันแดด
  • วิธีการเลือกซื้อแว่นกันแดด

ความสามารถในการป้องกันหรือดูดซับรังสีอุลตร้าไวโอเลต หรือ UV
รังสีอุลตร้าไวโอเลตหรือรังสี UV เป็นรังสีที่มองไม่เห็นประกอบด้วยรังสี UVA, UVB และ UVC ซึ่งแตกต่างกันไปตามความยาวคลื่น รังสีที่มีในแสงแดดจะประกอบด้วยรังสี UVA 90% และUVB 10% ส่วน UVC จะถูกกั้นด้วยบรรยากาศชั้นโอโซน ทำให้ไม่ผ่านมาถึงชั้นผิวโลก

             นอกจากในแสงแดดแล้ว รังสีเหล่านี้ยังมีในแสงที่มาจากงานอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น แสงที่เกิดจากการเชื่อมเหล็ก โคมไฟฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น รังสี UV นี้จะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคตาหลายอย่าง เช่น ต้อลม,ต้อเนื้อ, กระจกตาอักเสบ,ต้อกระจก (Cataract) และโรคจอประสาทตาเสื่อม ดังนั้นเราจึงควรหลีกเลี่ยงจากแสงอุลตร้าไวโอเลตโดยเฉพาะในแสงแดดซึ่งต้องเจอในชีวิตประจำวันโดยการสวมแว่นตากันแดดป้องกัน

            ตามมาตรฐานของแว่นตากันแดด วัสดุที่ใช้ทำเลนส์จะต้องมีคุณสมบัติที่สามารถป้องกันรังสี UVB ได้อย่างน้อย 70% และรังสี UVA ได้อย่างน้อย 60% สำหรับวัสดุที่นำมาใช้ทำเลนส์แว่นตากันแดดมีด้วยกันหลายชนิด เช่น วัสดุประเภท polycarbonate มีคุณสมบัติที่สามารถป้องกันรังสี UV ได้ 99 % ส่วนวัสดุที่เป็นพลาสติก (CR-39) และกระจกจะมีคุณสมบัติในการป้องกันรังสี UV เพิ่มขึ้นได้โดยการเคลือบสารเคมีลงบนผิววัสดุ

สีเลนส์แว่นกันแดด
การเลือกสีของเลนส์แว่นตากันแดดให้เหมาะสมกับกิจกรรมหรืองานที่ทำของแต่ละบุคคล มีส่วนช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น

  • สีเทา (gray) , สีเขียวอมเทา ช่วยลดความเข้มของแสง โดยไม่ทำให้สีของวัตถุผิดเพี้ยน
  • สีน้ำตาล (brown) ช่วยเพิ่มความสามารถการมอง สามารถแยกแยะรายละเอียดของวัตถุในที่สว่างได้ดีมาก เหมาะสำหรับเมื่อต้องการมองแยกวัตถุต่าง ๆ ได้ชัดเจน แต่จะทำให้สีของวัตถุเพี้ยนไป
  • สีอำพัน (amber) ช่วยให้มองเห็นวัตถุในระยะไกลได้ดีขึ้น ป้องกันแสงสีฟ้า ที่เป็นอันตรายต่อจอประสาทตา เหมาะสำหรับนักบิน คนขับเรือ นักยิงปืน นักสกี
  • สีเหลือง (yellow) ช่วยให้มองแยกรายละเอียดของวัตถุได้ดีขึ้น แต่ทำให้สีของวัตถุดูกระด้าง
  • สีชมพู (pink), สีแดง (red) เหมาะสำหรับคนที่มีกล้ามเนื้อตาล้าจากการใช้คอมพิวเตอร์ แต่ก็ทำให้สีเพี้ยนไปด้วย
  • สีแดงชาด (vermillion) ช่วยให้มองแยกส่วนที่เป็นน้ำออกจากวัตถุอื่น ๆ ได้ดี แต่ทำให้วัตถุมีสีผิดเพี้ยนมากที่สุด
  • สีฟ้า (blue) ช่วยให้มองเห็นวัตถุที่มีสีขาวเช่น หิมะ ได้ดี แต่ก็ทำให้สีอื่นเพี้ยน

วิธีการเลือกซื้อแว่นกันแดด

  • ตรวจสอบคุณสมบัติของแว่นตากันแดดมองหาป้ายรับรองที่ติดมากับแว่นกันแดด
  • เลือกแว่นกันแดดที่สวมใส่ได้พอดี เพื่อให้การกรองแสง UV และปกป้องรังสี UV มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • เลือกแว่นกันแดดที่มีพื้นที่เลนส์แว่นกันแดดมีขนาดใหญ่เพียงพอต่อการปกป้องดวงตาจากแสงสว่างที่จะผ่านเข้ามาได้
  • อย่าลืมว่าแว่นกันแดดที่มีราคาสูง เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงแฟชั่นหรือความทนทานไม่ใช่คุณภาพของการปกป้องกันรังสียูวี
  • แว่นกันแดดที่มีสีเข้ม ไม่ใช่จะให้การปกป้องดวงตาได้ดีกว่า แว่นกันแดดที่ดีขึ้นอยู่กับสารปกป้อง UV ที่เคลือบอยู่บนเลนส์เป็นหลัก ไม่ใช่สีของเลนส์
  • คอนแทคเลนส์ที่ปกป้องแสง UV ไม่สามารถใช้ทดแทนแว่นกันแดดได้
  • ป้ายที่เขียนว่า “UV protection up to 400 nm” สามารถป้องกันรังสี UV ได้ 100% ดังนั้นจึงควรเลือกใช้แว่นตากันแดดที่มีการรับรองว่าสามารถป้องกันรังสี UV ได้ 99-100%

สรุป

แว่นกันแดดนอกจากจะช่วยปกป้องสายตาจากรังสี UV ต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งไอเทมแฟชั่นที่สามารถช่วยให้บุคลิคภาพดูดีขึ้นได้ด้วย อย่าลืมว่าแว่นกันแดดที่ดีไม่จำเป็นต้องแพง เพราะราคาไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่าแว่นกันแดดตัวนั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UV ได้ดีไปกว่าแว่นกันแดดราคาถูกไปจนถึงราคาที่จับต้องได้ แต่ราคาเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงแฟชั่นหรือความทนทานไม่ใช่คุณภาพของการปกป้องกันรังสียูวี สุดท้ายนี้เราหวังว่าบทความของเราจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ